วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ผักออร์แกนิคคืออะไร?

         ในช่วงปีหลังๆที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยิน“ผักออร์แกนิค” มากันบ่อยๆแล้ว ซึ่งหลายๆคนนั้นเข้าใจว่าเป็นผักที่สด สะอาด อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังปลอดสารพิษและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนส่วนมากจะรู้จักผักออร์แกนิคแค่ในมุมกว้างๆเท่านั้น แล้วคุณละรู้จัก “ผักออร์แกนิค”ดีแค่ไหน?


 
http://www.chiefoutsiders.com/blog/organic-marketing

       ผักออร์แกนิค คือผักที่ไม่ใช้สารสังเคราะห์ใดๆเลยในการปลูกและเพาะเลี้ยง ถือว่าเป็นผักเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่รักสุขภาพกันเลยทีเดียว เพราะผักออร์แกนิคนั้นได้ถูกปลูกขึ้นมาด้วยธาตุอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ ปลูกบนดินที่ปลอดสารเคมี ซึ่งดินนั้นต้องเป็นดินที่ดี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร สามารถอุ้มน้ำและระบายน้ำได้ดี มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ซึ่งจะช่วยในการย่อยสลายสารอาหาร และทำให้รากสามารถดูดซึมสารอาหารได้ง่าย รวมถึงยังจะช่วยป้องกันโรคและแมลง ช่วยเร่งการเจริญเติบโต โดยดินที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือต้องเป็นแปลงที่ไม่มีการใช้สารเคมีมาแล้ว 5 ปี


http://www.acfs.go.th/warning/view_Knowledge.php?id=108


         สำหรับน้ำ ที่ใช้จะต้องไม่มาจากแหล่งแม่น้ำลำคลองทั่วไป เพราะแหล่งน้ำเหล่านั้นจะปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีมากมายซึ่งมาจากครัวเรือนและโรงงานต่างๆ โดยการปลูกผักออร์แกนิคจะต้องใช้น้ำขุดลึกภายในไร่ที่มีความลึกถึง 150 เมตร หรือน้ำที่อยู่ใต้ดินในการปลูกจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีโดยจะใช้ปุ๋ยหมักอาจจะได้มาจากขี้วัวหรือขี้ไก่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำปุ๋ยหมัก ไม่ใช้สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโตใดๆทั้งสิ้น โดยการเกษตรแบบออร์แกนิคจะมีการนำวัชพืชมาใช้ประโยชน์ เพราะการมีกากใยบนดินมาก จะทำให้เกิดการระบายน้ำได้ดี ในตอนฝนตกหนัก จึงจะช่วยรักษาพื้นดินไว้ได้ และวัชพืชยังช่วยในเรื่องการขยายรากพืชได้อีกด้วย
        การเพาะปลูกผักออร์แกนิคบางแห่งจะไม่กำจัดวัชพืชออกไปทั้งหมด หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จ จะทำการพักฟื้นแปลงประมาณ 2 สัปดาห์ จึงทำการไถกลบหญ้าขึ้นมาบนแปลงเป็นการได้ปุ๋ยสดไปในตัว เป็นการบำรุงดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเมล็ดที่ใช้ในการเพาะปลูกผักออร์แกนิคก็จะไม่มีการตกแต่งพันธุกรรมใดๆเลย เพียงแต่มีการดัดแปลงวิธีการปลูก เช่น ปุ๋ยในดินการบำรุงดิน ความชื้น น้ำ อากาศ ฯลฯ เพื่อให้พืชเติบโตด้วยวิธีแบบธรรมชาติ 100 % เรียกได้ว่าเป็นการทำการเกษตรแบบพึ่งธรรมชาติล้วนๆเลยทีเดียว ไม่มีสารพิษใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย แต่บางพื้นที่ก็จะมีการใช้สารเคมีเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ก็อาจจะเรียกว่าเป็น 95% ออร์แกนิค ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีป้ายบ่งบอกความเป็นออร์แกนิคไว้ 3 ระดับ คือ 100 %ออร์แกนิคก็คือ ธรรมชาติ95 % ออร์แกนิค ก็คือธรรมชาติ 95 % ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น และMade with Organic Ingredient คือ ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ก็ไม่ถือว่าเป็น Organic สำหรับอาหารออร์แกนิคนั้นนอกจากจะมุ่งเน้นไปที่ผู้กินจะมีสุขภาพที่ดีแล้ว จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือการลดมลพิษให้กับธรรมชาติ และเน้นให้ผลผลิตต่างๆออกตามฤดูกาล


https://thegreenhorns.wordpress.com/2012/04/20/apprentice-at-earth-sky-time-farm/

           มีคนส่วนมากยังคงสงสัยว่าผักออร์แกนิคจะแตกต่างจาก ผักปลอดสาร ผักอนามัย ผักไฮโดรโปนิกส์ ยังไงกัน เรามีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ สำหรับผักปลอดสารจะใช้สารเคมีระหว่างการปลูก แต่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเว้นการให้สารเคมี จึงจัดเป็นผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลง ส่วนผักอนามัยก็ใช้วิธีปลูกที่คล้ายกับผักปลอดสารเช่นกัน แต่ต่างกันที่ผักอนามัยมีการใช้สารเคมีป้องกันและปราบศัตรูพืช ส่วนผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นผักที่ไร้ดิน ใช้วัสดุในการปลูก เช่น น้ำ ทราย กรวด ดินเผา เป็นต้น ซึ่งพืชจำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมีไม่ว่าจะทางน้ำหรือทางใบ ผลผลิตที่ได้อาจจะมีสารพิษตกค้างอยู่บ้าง แต่จะไม่เกินมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดเท่านั้นเอง
          
          สำหรับประโยชน์ของผักออร์แกนิคนั้นมีมากมาย เช่น ไม่มีสารพิษตกค้างที่เป็นสารก่อมะเร็ง มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่าพืชผักทั่วไปอีกด้วย อีกทั้งยังไม่มีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศและทำให้เซ็กส์เสื่อมได้ เหมือนกับผักทั่วไปที่มียาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ รสชาติของผักออร์แกนิคยังดีกว่าผักที่ปลูกกันทั่วไปด้วย เพราะเป็นผักที่ปลูกตามฤดูกาล นอกจากจะเป็นผักที่ไม่มีสารพิษแล้วยังจะช่วยลดมลพิษไม่มีการปนเปื้อนทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ช่วยฟื้นฟูสภาพดิน ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีววิทยา และยังทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมีสุขภาพอนามัยที่ดี เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมี อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย